บทนำ

โครงงานธุรกิจ บูรณาการคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม จ.กระบี่

ข้อมูลของการศึกษา



ปลาหมึก




หมึกหรือปลาหมึก (อังกฤษ: Cuttlefish, Octopus) เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และว่องไว มีหนวดรอบปาก 4-5 คู่ บนหนวดมีปุ่มดูดเรียงเป็นแถว มีหน้าที่จับเหยื่อป้อนเข้าปากเป็นสัตว์ที่มีอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา ชั้นเซฟาโลพอดซึ่งเป็นชั้นของสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม ชั้นย่อย Coleoideaต่างจากกลุ่มสัตว์ที่ใกล้เคียงกันคือ Nautiloidea ซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มภายนอกร่างกาย แต่หมึกส่วนใหญ่กลับมีกระดูกหรือเปลือกอยู่ภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นทุ่นหรือพยุงร่างกาย ซึ่งเรียกว่า ลิ้นทะเล ยังมีบางชนิดที่ไม่มีกระดูก แต่มีกระดูกอ่อนทดแทนเพื่อใช้ในการพยุงโครงสร้างร่างกาย


พริก


นักประวัติศาสตร์ชื่อFrancisco Hernandezซึ่งเป็นแพทย์ในกษัตริย์ Philip ที่ 2 แห่งสเปนและได้เคยถูกส่งตัวไปศึกษาธรรมชาติของพืชและสัตว์ในดินแดนใหม่ (อเมริกา)ก็ได้รายงานกลับมาว่า ชาวอินเดียนนิยมปลูกพริกมาก ส่วน P. BernabeCoboผู้ใช้เวลาสำรวจอเมริกานาน 50 ปี ในศตวรรษที่ 20-21 ก็ได้รายงานทำนองเดียวกันว่าชาวอินเดียนในเม็กซิโกนิยมปลูกพริก โดยได้เขียนลงในหนังสือ Historiaว่าชาวอินเดียนถือว่าพริกเป็นพืชที่สำคัญรองจากข้าวโพด เพราะชอบบริโภคพริกสดและใช้พริกในพิธีสักการะบูชาเทพเจ้าทุกงาน แต่เมื่อถึงเทศกาลอดอาหารคนอินเดียนเหล่านี้จะไม่บริโภคอาหารที่มีพริกปนเลย Coboยังกล่าวเสริมว่าไม่เพียงแต่ผลพริกเท่านั้นที่เป็นอาหารแม้แต่ใบพริกก็ยังสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ด้วย และสำหรับ Garcilaso de la Vega ผู้เป็นบุตรของขุนนางสเปนนั้น ก็ได้เล่าว่าชาวอินคาถือว่าพริกเป็นผลไม้ที่มีคุณค่ามาก เพราะอาหารอินคาจะมีพริกปนไม่มากก็น้อยนอกจากนี้หมอชาวบ้านของชนเผ่านี้ก็มีความรู้อีกว่าใครก็ตามที่บริโภคพริกในปริมาณที่พอดี ระบบขับถ่ายของคนคนนั้นจะทำงานปกติแต่ถ้าบริโภคมากเกินไป กระเพาะจะเป็นอันตราย Alexander von Humboldt นักปราชญ์ชาวเยอรมันก็เป็นบุคคลอีกท่านหนึ่งที่ได้เดินทางไปสำรวจทวีปอเมริกาเป็นเวลานานหลายปีและได้เปรียบเทียบความสำคัญของพริกว่าคนยุโรปถือว่าเกลือมีความสำคัญต่อชีวิตเพียงใดคนอินเดียนก็ถือว่าพริกมีความสำคัญต่อเขาเพียงนั้น

   

วุ้นเส้น


วุ้นเส้น หรือ เส้นแกงร้อน ทำจากถั่วเขียวน้ำ และส่วนผสมอย่างอื่น เช่นแป้งมันฝรั่ง มีลักษณะเป็นเส้นกลมใสและยาว ปกติมักขายในรูปของวุ้นเส้นอบแห้ง เมื่อจะนำไปประกอบอาหารต้องแช่น้ำหรือต้มให้คืนรูปก่อน ตัวอย่างอาหารที่ใช้วุ้นเส้นคือ แกงจืด ผัดวุ้นเส้น กุ้งอบวุ้นเส้น เป็นต้นในภาษาอังกฤษจะเรียกวุ้นเส้นว่า cellophane noodle เนื่องจากมีความใสคล้ายเซลโลเฟน เมื่อวุ้นเส้นถูกอบให้แห้ง วุ้นเส้นจะใสไม่มีสี หรือใสเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลอมเทา ไม่ควรสับสนระหว่างวุ้นเส้นและเส้นหมี่ (rice vermicelli) ซึ่งผลิตจากข้าวและสามารถเห็นเส้นเป็นสีขาวมากกว่าความใสวุ้นเส้นมักเป็นเส้นกลมและมีความหนาแตกต่างกันออกไป วุ้นเส้นที่แบนและกว้างประมาณ 1 เซนติเมตรคล้ายเส้นใหญ่ก็ยังมีขายในต่างประเทศ (แต่ไม่มีขายในประเทศไทย)

น้ำปลาตราทิพรส


          
ทิพรสพัฒนากรรมวิธีการผลิตทุกขั้นตอนจากเดิมที่ใช้กรรมวิธีการผลิตแบบง่ายๆด้วยเครื่องมือแบบดั้งเดิมพัฒนาสู่ระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมที่เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีทันสมัยใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ ควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์ทุกขั้นตอนการผลิตผ่านขบวนการตรวจสอบมาตาฐานคุณภาพ และปริมาณโปรตีนอย่างละเอียดจนมั่นใจว่าได้น้ำปลาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
           
น้ำมันปาล์ม


น้ำมันปาล์ม (อังกฤษ: Palm oil) สกัดจาก ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชน้ำมันที่ให้ปริมาณน้ำมันสูงถึง 0.6 - 0.8 ตัน/ไร่/ปี เมื่อเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันชนิดอื่น สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและใช้ในการประกอบอาหารเนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูง ไม่ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง น้ำมันปาล์มมีราคาต่ำกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ปลอดจากสารตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) น้ำมันปาล์มผลิตได้เองในประเทศการใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ำมันจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและรายได้โดยรวมของประเทศ


ยอดตำลึง






ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อยตามข้อมีมือจับเส้นเล็ก ๆ เพื่อใช้ยึดเกาะใบมีรูปร่าง 5 เหลี่ยม เนื้อใบเรียบใบอ่อนเป็นมันเงา ตำลึงเป็นผักที่หาได้ง่ายเพราะขยายพันธุ์ได้จากการที่นกกินผลตำลึงเข้าไปแล้วขับถ่ายเมล็ดออกมาโดยจะเจริญเติบโตได้ดีและแตกยอดมากในช่วงฤดูฝน


ผักกูด


ผักกูดมีธาตุเหล็กและเบต้า-แคโรทีนสูงช่วยให้ไม่อ่อนเพลียหรือซีดง่าย
บำรุสายตาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันผักกูดเป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งชอบขึ้นตามริมน้ำที่มีความชื้นสูงแต่มีแสงแดดส่องถึงหรือที่ร่มรำไร ต้นสูงได้ถึง 1 เมตร มีใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ยาวประมาณ 1 เมตรกว้าง 50 ซม.พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคผักกูดมีลักษณะเด่นตรงที่มีความไวเป็นพิเศษต่อสารเคมีและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง จึงเป็นพืชที่ช่วยสะท้อนความผันแปรของระบบคุณภาพดินและระบบนิเวศสารเคมีที่ตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมจึงส่งผลกระทบต่อผักกูดโดยตรง


กระเทียม

กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) เทียม (ใต้) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)
      
หมู


สุกรหรือหมู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sus scrofa domesticus) เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ ซึ่งมีบรรพบุรุษ คือ หมูป่า (Sus scrofa) สามารถจำแนกเป็นสปีชีส์ย่อยของหมูป่าหรือเป็นอีกสปีชีส์หนึ่งแยกต่างหาก หัวและความยาวลำตัวอยู่ระหว่าง 0.9 ถึง 1.8 เมตร ตัวโตเต็มวัยหนักระหว่าง 50 ถึง 350 กิโลกรัม สุกรแม้จะเป็นสัตว์กีบคู่ซึ่งมักกินพืชเป็นอาหาร แต่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเหมือนกับบรรพบุรุษหมูป่า สุกรมีวิวัฒนาการกระเพาะอาหารใหญ่ขึ้นและลำไส้ยาวขึ้นเพราะพืชย่อยได้ยากกว่าเนื้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น